“ คนย้อมผ้า “

      การยอมผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสมัยก่อนผู้คนจะใช้สีย้อมผ้าจากธรรมชาติ

“ คนย้อมผ้า “ เช่น สีเหลืองจากแก่นขนุน สีน้ำเงินจากต้นฮ่อม สีแดงจากเปลือกประดู่ ดอกคำฝอย สีเขียวจากใบหูกวาง และสีดำจากผลมะเกลือ เป็นต้น

     สีของใบไม้เปลือกไม้หรือดอกไม้นั้นเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายมากไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

ศิลปะการย้อมผ้าเหล่านี้ถูกถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เชื่อว่ามีคนอีกหลายคนย่อมมีเสื้อตัวโปรดกันบ้าง เสื้อที่ชอบใส่เป็นประจำก็ต้องซักบ่อยๆ ทำให้สีของเสื้อนั้นจางไปตามเวลาสภาพการใช้งานแต่ถ้าสภาพเสื้อยังดีอยู่ไม่ขาด ไม่เปื่อย เราก็คงไม่อยากทิ้งเสื้อตัวนั้นและการย้อมผ้านี้เองที่จะช่วยให้เราสามารถนำเอาเสื้อผ้าตัวเก่งของเรามาชุบชีวิตให้พลิกฟื้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง สมัยก่อนตอนเป็นเด็กหากเราจำได้จะมีเสียงป๋องแป๋งๆๆ คือสัญลักษณ์ของคนรับจ้างยอมผ้าเป็นอาชีพที่สุจริตอาชีพหนึ่งที่มีมานานแล้วจากตอนเป็นเด็กคนจำความได้ก็ได้ยินเสียงป๋องแป๋งแล้วคนสมัยก่อนจะทราบดี แต่คนปัจจุบัน มักไม่ค่อยรู้จัก ลูกหลานบางคนก็มีถามว่า เสียงของป๋องแป๋งนั้นเค้าขายอะไรกัน ผู้ใหญ่บางคนเลยต้องมาอธิบายให้ทราบว่าเค้าไม่ได้ขายอะไรหรอกแต่เป็นคนที่มีอาชีพรับจ้างยอมผ้าซึ่งส่วนมากจะยอมผ้าเป็นสีดำ หลายคนคงได้ยินเสียงกล่องป๋องแป๋งผ่านหน้าบานไปมาแต่ออกจากบ้านทีไรก็ไม่ทันทุกทีเจ้าป๋องแป๋งวิ่งผ่านไปไกลแล้วเพราะป๋องแป๋งในปัจจุบันไม่เหมือนเดิมโดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะในการประกอบอาชีพ เมื่อก่อนป๋องแต่งใช้วิธีการเดินหาอุปกรณ์การยอมผ้าด้วยบ่าทั้งสองข้างเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหนื่อยบ่าซ้ายก็ย้ายมาบ่าขวามือแกว่งกองป๋องแต่งเป็นระยะๆเหนื่อยก็หยุดพักรหายเหนื่อยก็เดินต่อ คนที่ต้องการจะนำผ้ามาย้อมเมื่อได้ยินเสียงป๋องแป๋งแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าคนยอมผ้าผ่านมาแล้วสามารถเรียกให้หยุดได้โดยง่าย  แต่ตอนหลังมายานพาหนะจากเดินก็เปลี่ยนเป็นใช้รถจักรยานและปัจจุบันกลายเป็นรถจักรยานยนต์ไปแล้วเคลื่อนที่ได้เร็ว วิ่งไปได้ในรัศมีใจจะกลับคืนมาที่เดิมก็ยังได้แต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มคือค่าน้ำมันลดก็ต้องคิดบวกในค่ายอมผ้านั่นแหละจะเดินเหมือนคนเดิมก็คงไม่ไหวแล้วจะปั่นจักรยานก็เหนื่อยเหมือนกัน