กระบวนการยุติธรรม

     การบวนการยุติธรรมง่ายนิดเดียว เรื่องของกระบวนการยุติธรรมที่หลายๆคนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนเฉพาะด้านและถ้าหากจะทำความเข้าใจก็คงต้องไปเรียนกฎหมายหรือไม่ก็ต้องทำงานในด้านกฎหมายจึงจะเข้าใจกฎหมายสักที ทั้งที่จริงแล้วเรื่องกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอยู่เสมอ และสิ่งที่เราคิดนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องยากดังนั้นเราควรรู้ลำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการกฎหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

กระบวนการยุติธรรม หากจะแปลความหมายที่เข้าใจง่ายๆก็คือการที่มีผู้กระทำผิดทางกฎหมายหรือเกิดความขัดแย้งระหว่างกันและมีบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล เข้ามาดำเนินการตัดสินตามที่กฎหมายกำหนด กระบวนการดำเนอนคดรทางอาญา ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม

ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในสังคมเป็นกระบวนการที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในสังคม เป็นการดำเนินคดีกับบุคคล กลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำผิดกฎหมายและกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เช่น การทำร้ายร่างกายไม่ว่าจะถึงแก่ความตายหรือไม่ การปล้นทรัพย์ ลักขโมย การฉ้อโกง หรือแม้แต่การนินทาว่าร้ายให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นต้น

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาประกอบด้วย 7 คนหลักด้วยกัน ได้แก่

  • ผู้เสียหาย คือผู้ที่ด้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของบุคคลอื่นหรือผู้ถูกละเมิดทั้งทางร่างกาย ทรัพย์สินและทางวาจา 
  • ผู้กระทำผิด คือผู้ที่กระทำความผิดตามที่กฎหมายระบุไว้รวมถึงผู้ที่ทำการละเมิดผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ
  • ตำรวจหรือพนักงานปกครอง คือผู้ที่มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดและรวบรวมพยานหลักฐานโดยการสืบสวนสอบสวนและจัดเก็บพยานหลักฐานเพื่อจัดทำสำนวน
  • อัยการหรือทนายแผ่นดิน คือผู้ที่ตรวจสอบสำนวนจากตำรวจ ให้ความเห็นในคดีเพื่อเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา
  • ศาล คือผู้ที่พิพากษาคดีตามที่กฎหมายกำหนด
  • ทนายความ คือผู้ที่ช่วยดำเนินคดีแทนผู้เสียหายและผู้กระทำผิดรวมถึงทำสำนวนรวบรวมพยานหลักฐานเสนอต่อศาลด้วยเช่นกัน
  • เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์หรือเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ คือผู้ที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ในกรณีที่ผู้ต้องหาโดนคำพิพากษาให้จำคุกหรือถูกคุมประพฤติ

ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา แบ่งออกเป็น  3 ส่วน

  • การดำเนินคดีอาญาก่อนพิจารณาคดี เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น หรือผู้เสียหายถูกละเมิดทางร่างกาย ทรัพย์สิน หรือวาจา และต้องการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ขั้นแรกต้องไปร้องทุกข์หรือแจ้งความกับตำรวจ ตำรวจจะมีการรวบรวมเอกสารและมีการไปจับกุมผู้กระทำผิดมาสอบสวนและควบคุมตัวเอาไว้ และตำรวจจะส่งสำนวนไปยังอัยการเพื่อฟ้องศาลต่อไป
  • ระหว่างการพิจารณาคดี เมื่อตำรวจจับกุมผู้ต้องหาและจัดทำสำนวนเรียบร้อยแล้วก็จะเสนอต่ออัยการเพื่อตรวจสอบและให้ความเห็น เมื่ออัยการตรวจสอบดูว่าสำนวนนั้นมีหลักฐานชัดเจน ก็จะเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาคดี แต่ในทางกลับกันหากอัยการเห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอนั้นก็เนอไม่สั่งฟ้องและปล่อยตัวผู้ต้องหาไป
  • หลังการพิจารณาคดี เมื่อศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดจริงก็จะตัดสินลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีมาตรการจากเบาไปหนัก และหากศาลพิจารณาว่าไม่ผิดก็จะมีการปล่อยตัวไป

กระบวนการยุตะรมไม่ใช่เรื่องยากหากเราทำความเข้าใจและเชื่อมั่นว่ากระบวนการยุติธรรมดังกล่าวมีความยุติธรรม

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย  บาคาร่าฟรีโบนัส