Body shaming

“อ้วนขึ้นป่ะเนี่ย”

“ทำไมขาใหญ่เหมือนโต๊ะสนุ๊กเลย”

“ผอมเป็นไม้เสียบผีแล้ว”

“หน้ามีแต่รอยสิว”

ประโยคเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราพบเจอกันเป็นอย่างมากในสังคมไทย และมีการใช้กันในวงกว้างทั้งที่ประโยคเหล่านี้ไม่ใช้ประโยคทักทายด้วยซ้ำ แต่ในสังคมไทยกลับใช้ประโยคเหล่านี้เป็นประโยคทักทายผู้อื่น ฟังดูเหมือนปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำทั้งสิ้น เพราะประโยคเหล่านี้เข้าข่ายเป็น Body shaming

แล้ว Body shaming คืออะไร?

Body shaming คือ การวิจารณ์ ดูถูกรูปร่าง หน้าตา สีผิว รูปลักษณ์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการล้อเลียน การเปรียบเทียบ จนอาจจะทำให้ผู้อื่นเกิดความอับอาย ส่งผลกระทบถึงจิตใจและทำให้ผู้อื่นเสียความมั่นใจ บางครั้งอาจถึงขั้นทำให้ผู้อื่นรู้สึกบั่นทอนความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเองลงไปด้วย การพูดเชิงลักษณะนี้แม้จะเป็นเพียงการล้อเล่น แต่ก็ไม่ต่างจากการล้อปมด้อย การประณามความบกพร่องหรือเหยียดหยามร่างกายของผู้อื่น เพราะมีแต่จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกแย่ รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง และที่สำคัญอาจทำให้เกิดเป็นความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจฝังอยู่ในหัวของผู้อื่นได้ 

เราทุกคนต่างรู้ดีว่าในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ทุกคนต่างมีความบกพร่องด้วยกันทั้งนั้น แต่เราไม่เห็นมีความจำเป็นที่จะต้องเอาความบกพร่องของผู้อื่นมาล้อเลียน หรือเอาสิ่งเหล่านี้มาทำให้เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันโดยเอาประโยคเชิง Body shaming มาทักทายผู้อื่น แล้วยิ่งเป็นการทักทายในที่สาธารณะ ต่อหน้าผู้คนเยอะๆ ยิ่งไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง

มิฉะนั้นแล้วจะทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความอับอายหนักขึ้นไปอีก บางคนถึงขั้นกลัวการไปเจอผู้คนเยอะๆ ไม่กล้าออกไปที่สาธารณะด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่อยากเผลอทำให้ผู้อื่นรู้สึกแย่ เราเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราคุ้นชินให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนคำทักทายจากเดิมที่เคยทักทายผู้อื่นด้วยประโยคเชิง Body shaming ให้เป็นประโยคทักทายธรรมดาทั่วไป เปลี่ยนจากการเล่นมุขตลกเกี่ยวกับร่างกายผู้อื่นเป็นการเล่นมุขตลกในเรื่องอีก เปลี่ยนจากการล้อเลียนความบกพร่องในหน้าตา ผิวพรรณ รูปร่างของผู้อื่นเป็นชื่นชม เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นนี้นอกจากจะส่งผลดีต่อผู้อื่นแล้วยังส่งผลดีต่อตัวเราด้วย เพราะนั่นจะทำให้เราดูเป็นสุภาพขึ้น เป็นคนที่รู้จักคิดถึงจิตใจผู้อื่น รู้จักคิดก่อนพูด เคยได้ยินประโยคที่ว่า “การที่เราพูดถึงคนอื่นไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนแบบไหน แต่นั่นจะแสดงให้เห็นว่าเราเป็นคนแบบไหน” ถ้าเช่นนั้นแล้วหากเราพูดถึงผู้อื่นในแง่ที่ไม่ได้แสดงว่าผู้อื่นเป็นคนไม่ดี แต่นั่นแสดงให้เห็นได้ว่าเราเองต่างหากที่เป้นคนไม่ดี ถ้าเราไม่อยากเป็นคนที่ดูไม่ดี เราก็ไม่ควรจะทำอะไรที่จะส่งผลให้เราเป็นคนไม่ดี 

เราทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกับความบกพร่องไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง แต่เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาความบกพร่องของผู้อื่นมาพูดเพื่อกลบความบกพร่องของตัวเอง หรือพูดเพื่อให้เป็นเรื่องตลกขบขัน การจะสร้างความตลกไม่จำเป็นต้องล้อเลียน เหยียดหยาม ดูถูกรูปร่าง หน้าตา รูปลักษณ์ สีผิวของผู้อื่นเลย รวมถึงการพูดเพื่อติเตียนผู้อื่นด้วย พูดเพื่ออยากให้ผู้อื่นปรับปรุงตัว ดูแลตัวเอง เพราะหากเราหวังดีกับผู้อื่นจริงๆ เราไม่จำเป็นจะต้องพูดในเชิง Body shaming ก็ได้ แค่มีคำแนะนำหรือคำพูดที่สุภาพก็ย่อมมีเสน่ห์และน่าฟังมากกว่าแล้ว

 

สนับสนุนโดย  ufabet